วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟแวร์สร้างสรรค์ผลงาน


โครงงานคอมพิวเตอร์ (ไม่บอกหรอก เก็บเป็นความลัพธ์ก่อนนะจ๊ะ)

กลุ่มที่ 12

สมาชิกกลุ่ม    

         1. น.ส.   พัทธวรรณ    ฤกษ์ยาม    เลขที่ 21
                      
         2. น.ส.   มัณฑนา   ศรีนาค            เลขที่ 24
                       
         3. น.ส.    อทิตยา     สุทธิช่วย        เลขที่ 25
                                   
                                 ม.5/12

วิธีดำเนินการ

1. ลงความเห็นกันเพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจ

2. แบ่งหน้าที่กันศึกษาหาข้อมูลและดำเนินการตามข้อมูลต่าง

-  ศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
- ค้นหาและศึกษาโปรแกรมที่จะนำมาประยุกต์ใช้
- ทำแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์การจัดทำ

- ฝึกการใช้โปรแกรมที่จะนำมาใช้

- รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องใส่ในโครงงาน

3. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์

4. เขียนร่างเค้าโครงงาน

5. นำเสนออาจารย์และขอคำแนะนำเพิ่มเติม

6. แก้ไขปรับปรุงเค้าโครงงาน

7. ลงมือทำโครงงาน

8. นำเสนอและแก้ไขชิ้นงาน
ผลการดำเนินการ

      สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงงาน 

1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อมูลในการทำแบบสอบถาม

2.ได้รับความรู้จากการใช้โปรแกรมในการทำ

3. การพัฒนาในการใช้ความรู้รอบตัวมาใช้

4. ฝึกความชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

แหล่งเรียนรู้

-       สืบค้นข้อมูลต่างๆจากอินเตอร์เน็ตทั้งเว็บไซด์ต่างๆและยูทูป

-       ได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์กิตติมา ในการใช้โปรแกรม  Kodu

  หลักฐานประกอบ
              
    -การศึกษาวิธีการทำ จากยูทูป






       -การสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง






URL หัวหน้ากลุ่ม : http://joy26atidtaya.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน

“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่นโรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558


ที่มา : http://www.enn.co.th/content.php?cid=2308

ข้อดีหรือประโยชน์ในการเล่นเกมออนไลน์

1. เพิ่มทักษะและความสามารถในการพิมพ์ดีด 

มีเด็กที่เริ่มเล่นเกม จากการไม่เคยสัมผัส แป้นพิมพ์มาก่อนเลย ไม่เคยเรียนพิมพ์ดีด แต่ทุกคนสามารถพิมพ์ดีดได้คล่องแคล่วหลังจากเล่นเกม เพราะเกิดจากความคุ้นเคยนั่นเอง



2. ฝึกการวางแผน สำหรับเกมประเภทวางแผน และการวางแผนการเล่นในเกมทั่วๆไป 

ตั้งแต่การเลือกตัวละคร วางแผนการหาสถานที่ หรือฉาก ในการเก็บเลเวล ให้เหมาะสม เพราะถ้าเลเวลน้อยแล้วไปเก็บในฉากยาก ก็ไม่ได้ ..และการเก็บเลเวลในฉาก 

ที่เหมาะสม หรือสู้กับมอนสเตอร์ ที่เหมาะสม จะทำให้เลเวลขึ้นเร็ว ทำให้เราเก่งเร็วขึ้น รวมถึงเกม โกะ ออนไลน์ ที่เป็นเกมกีฬาประเภทวางแผนอยู่แล้ว



3. ฝึกการทำงานเป็นทีม และรู้จักแบ่งหน้าที่ 

เพราะตัวละครแต่ละตัว มีจุดเด่น หรือมีความเก่งกาจ ต่างกันออกไป เช่น เล่นเป็นอาชีพพ่อค้า 

ก็จะต่อสู้ไม่เก่ง แต่จะเด่นด้านค้าขาย ซื้อของได้ราคาถูก หาเงินเข้าทีมได้เยอะ ส่วนอาชีพไฟท์เตอร์ก็เด่นด้านต่อสู้ มีความอดทน ต้องเป็นกองหน้าให้เพื่อนๆ 

ส่วน อาชีพอื่น ที่อ่อนแอกว่า เช่น อาชีพ วิซาร์ด หรือนักเวทย์ ที่สามารถโจมตีได้รุนแรง โจมตีระยะไกล แต่พลังป้องกันต่ำ จะตายได้ง่าย จึงต้องมี ไฟท์เตอร์คอยกันด้านหน้า



4. ฝึกทักษะ ทางด้านการค้า 

ทักษะด้านการค้า สามารถฝึกได้ในหลายๆเกม แต่จะสมจริงมากที่สุดในเกม แรคนารอคออนไลน์

- ตั้งแต่ความสามารถของอาชีพพ่อค้าแม่ค้า ที่ซื้อของจาก npc (ตัวละครในเกม) ในราคาถูกกว่าอาชีพอื่นๆ และสามารถนำมาตั้งร้านเป็นของตัวเอง เพื่อเก็งกำไรขายต่อได้ 

- รวมถึงการตั้งร้านรับซื้อของ ที่อาชีพอื่นๆหามาได้

- ฝึกคำนวณราคาต้นทุนที่ซื้อมา และราคาขาย 

- การตั้งชื่อร้านโฆษณาให้ดึงดูดใจลูกค้า 

- การบริการหรือคุยกับลูกค้า ผูกมิตร ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและเป็นลูกค้าประจำ 

- การรับซื้อของร้อน(ในที่นี้คือ รับซื้อของที่ผู้ขายต้องการขายเพราะต้องการเงิโดยด่วน มักจะต้องเสนอราคาแข่งกับร้านอื่นๆ ให้ได้ราคาที่เหมาะสมตามต้องการ)

- การปั่นราคา Item หรือราคาสินค้า ทั้งนี้ต้องดูราคาตลาดโดยรวม เพื่อ ให้ราคาสินค้านั้นๆสูงขึ้นเมื่อของหายาก ในขณะเดียวกัน สินค้าที่เริ่มมีมาก จนล้นตลาด ราคาจะถูกลง

- การรับจ้างหาเงินในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัว เช่น อาชีพ priest สามารถ เปิดวอร์ป warp คือการเคลื่อนย้าย บุคคลไปยังเป้าหมายหรือสถานที่ที่

ต้องการ เพียงวินาทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นไปทีละคน หรือไปเป็นทีม ถือว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินหรือวิ่งไกลๆ จึงสามารถ เปิดเป็นบริการขาย Warp ได้ 

ซึ่งข้อนี้เปรียบเสมือนการมองช่องทาง หรือสร้างโอกาสทางธุรกิจ



- การเก็งราคาสินค้า เด็กๆที่มีความสามารถด้านการค้า จะมองการณ์ไกล ว่าต่อไปจะมีอะไรใหม่ๆเข้ามา หรือสินค้าตัวไหน ที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคตอันใกล้ จึงมีการกักเก็บสินค้าไว้ในโกดัง เพื่อเก็งราคาสินค้าให้ได้ราคาดี

*รายละเอียดเรื่องการค้าขาย ที่ได้จากการเล่นเกมนี้ ยังมีอีกเยอะ ซึ่งเด็กๆ ที่เล่นเกมนี้ โดยมีผู้ปกครองชี้แนะ จะได้ประโยชน์หรือทักษะด้านการค้า การหาโอกาสทางการค้า การสังเกต demand&supply ได้มากเลยทีเดียว



5. ฝึกการเข้าสังคม

เนื่องจากเกมออนไลน์เป็นเกมที่ต้องเล่นกับผู้อื่น จึงต้องมีการปรับตัว มีการทักทาย เพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ เด็กต้องรู้จักที่จะทักทายผู้อื่นก่อน การให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะต้องเล่นเกมด้วยกัน



6. ฝึกการขอโทษ และให้อภัยผู้อื่น

การเล่นเกมออนไลน์ ต้องเล่นกับผู้เล่นคนอื่นๆ ที่ล็อคอิน เข้าสู่เกม มาเล่นด้วยกันเป็นจำนวนมาก หลายๆคน อาจมีจุดประสงค์เดียวกัน มีการกระทบกระทั่งกันด้วยความไม่ตั้งใจ เช่น 

- นักเวทย์ กำลังยิงมอนสเตอร์อยู่ขณะที่กำลังร่ายเวทย์อยู่นั้น นักธนูซึ่งอยู่ใกล้กว่ามองไม่เห็น จึงยิงมอนสเตอร์ตัวเดียวกัน ในกรณีนี้ ต้องยอมให้อภัยกัน เพราะเกิดจาก 

ความ ไม่ ตั้งใจ 

- หรือบางคนไปสู้มอนสเตอร์ด้วยกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นปาร์ตี้หมู่คณะ ขณะชุลมุนเกิดความงง จึงไปตีเอามอนสเตอร์ที่อีกกลุ่มหนึ่งกำลังตีอยู่ ผู้มาทีหลัง คือคนทีมาแจม 

ชาวบ้านเค้า ต้องกล่าวคำ “ขอโทษ” และผู้ที่ตีอยู่ก่อน ก็ต้องรู้จักให้อภัย เพราะเค้าไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น



7. ฝึกที่จะเป็นคนมีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือผู้เล่นใหม่ ไม่เห็นแก่ตัว

บ่อยครั้งที่เห็นผู้เล่นที่เพิ่งเริ่มเล่น ไม่เข้าใจในตัวเกม หรือ การใช้คำสั่งบนแป้นพิมพ์ ว่าต้องกดสั่งอย่างไร มีข้อสงสัยในเกม ต่างๆนานา และมีผู้เล่นที่มีน้ำใจ ตอบคำถาม ให้คำปรึกษา ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เกิดจากความมีอัธยาศัยดี แต่ก็มีเช่นกัน สำหรับผู้เล่นที่ไม่มีน้ำใจ และเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันปลูกจิตสำนึก



8. ฝึกมารยาทในการเข้าสังคม และความอดกลั้น

ผู้เล่นสามารถเล่นเกม และฝึกตนเองให้เป็นคนมีมารยาทในการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยวาจาสุภาพกับคนที่เพิ่งรู้จัก การพูดคำ “ขอบคุณ” เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เช่น

- ขณะที่ผู้เล่นคนหนึ่งกำลังตีมอนสเตอร์อยู่นั้น บังเอิญถูกรุม และใกล้จะแย่ ก็มีคนมาช่วยรักษา ช่วยฮีลเพิ่มเลือด หรือค่า hp ให้ ควรฝึกให้เป็นนิสัยในการ กล่าวคำว่า “ขอบคุณ”

- แต่ในขณะเดียวกัน สังคมเกมออนไลน์ก็เหมือนสังคมโลกภายนอก มีคนดี ย่อมมีคนไม่ดี หากมีคนพูดจาไม่ดี ผู้เล่นก็สามารถเลือกที่จะ อดกลั้น ต่อคำพูดไม่ดีนั้น และกล่าวคำที่ดีออกไป ทำให้เค้ารู้สึกผิด ที่พูดจาไม่ดี แทนที่จะกล่าวคำไม่ดีเช่นกัน อย่าลืมว่าการใช้ชีวิตในสังคมของโลกในเกม ก็เหมือนโลกในชีวิตจริง เหมือนสังคมที่ทำงาน สังคมที่โรงเรียน และอื่นๆ





9. ฝึกปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคม

ทุกเกม มีกฎกติกามารยาทเป็นของแต่ละเกม ถ้าจะมองให้ดี มีทั้งกฎที่เป็นเหมือนกฎหมายของเกม เช่น ห้ามทำร้ายกัน หากคุณทำร้ายผู้อื่นจนตาย คุณก็จะถูกทุกคนในสังคมเกม รุมทำร้ายจนตายเช่นเดียวกัน แต่ของดี ไอเทมในตัวจะตกอีกต่างหาก เป็นต้น

แต่ในกฎที่เสมือนเป็นกฎทางสังคม ก็มี ใครจะเลือกปฏิบัติก็ได้ แต่ผู้เล่นที่ละเมิดกฎทางความคิดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี ถูกประณาม และไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย เช่น

- การเก็บของที่ไม่ใช่ของของตนเอง เก็บต่อหน้าต่อตาเจ้าของ ซึ่งโดยปกติผู้ที่ตีมอนสเตอร์แล้วของหรือไอเทมต่างๆ ตกลงมาต้องเป็นผู้ครอบครองของสิ่งนั้น ผู้เล่น ที่ไม่ได้ตีมอนสเตอร์แต่วิ่งไปเก็บของเค้ามา ภาษาในเกม เรียกว่า “การลูท” ถือว่าผิดกติกาสังคม เป็นต้น



10. ทำให้รู้จักเพื่อนใหม่ เกิดมิตรภาพที่ดี

เนื่องจากการไปเก็บเลเวล ต้องไปด้วยกัน ช่วยเหลือกัน เป็นทีม เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน จึงทำให้ผู้เล่นที่คุ้นเคยกัน เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน ผู้เล่นจำนวนมากที่เจอกันตามงานที่ค่ายเกมแต่ละเกมจัด แล้วได้พบปะเจอตัวจริง พูดคุยกันกลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันในโลกแห่งความเป็นจริง



ที่มา :  http://gamer-gate.net/view/%

วิธีป้องกันเด็กติดเกม

-   คุยกับเด็กเพื่อกำหนดกติกากันล่วงหน้าก่อนจะซื้อเกม หรืออนุญาตให้เด็กเล่นว่า เด็กสามารถเล่นเกมได้ ในวันใดบ้าง วันใดเล่นไม่ได้ เล่นได้ครัง้ ละไม่เกินกี่ชัว่ โมง ตัง้ แต่เวลาใดถึงเวลาใด ก่อนจะเล่นต้อง รับผิดชอบ ทาอะไรให้เสร็จเรียบร้อยก่อนบ้าง หากเด็กไม่รักษากติกา เช่น เล่นเกินเวลา ไม่ทาการบ้านให้ เสร็จก่อน ฯลฯ เด็กจะถูกทำโทษอย่างไร แนะนาให้ใช้วิธีริบเกม หรือตัดสิทธิการเล่นเป็นเวลาระยะหนึ่งหากเด็กไม่ทำตาม กติกาที่ตกลง)

-   วางตำแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในสถานที่ที่เป็นที่โล่ง มีคนเดินผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ ไม่ควรตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องที่ปิดมิดชิด เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้ติดตามเฝ้าดูได้ เป็นการป้องกันมิให้เด็กเก็บตัว แอบเล่นคนเดียวในห้อง หรือแอบเล่นทั้งคืน

 -  
วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง หรือในตาแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

-  ให้คำชมแก่เด็กเมื่อเด็กสามารถรักษาเวลาการเล่น ควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเลยเวลาที่กำหนดได้

-  เอาจริง เด็ดขาดหากเด็กไม่รักษากติกา เช่น ริบเกมโดยไม่ใจอ่อน, ตั้งรหัสคอมพิวเตอร์

-  ส่งเสริม จัดหากิจกรรมที่สนุกสนานอย่างอื่น ที่สนุกพอๆหรือมากกว่าการเล่นเกม ให้เด็กทำ หรือมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว

-  หลีกเลี่ยงการใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อที่พ่อแม่จะได้มีเวลาส่วนตัวไปทา อย่างอื่น

-  สอนให้เด็กรู้จักการแบ่งเวลา รู้จักใช้เวลาอย่างเหมาะสม


ที่มา : http://www.rimnam.com/%E0%B8%A3

สาเหตุของการติดเกม




ปัญหาเด็กติดเกม การแก้ปัญหาเด็กติดเกม


-  การเลี้ยงดูในครอบครัว: มักจะพบเด็กติดเกมได้บ่อยในครอบครัวที่เลี้ยงเด็กโดยไม่เคยฝึกให้เด็กมีวินัย ในตัวเอง ขาดกฎระเบียบ กติกาในบ้าน ตามใจเด็ก ครอบครัวมีลักษณะที่สมาชิก ในครอบครัวต่างคนต่างอยู่ ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กทา หรือไม่มีกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนทำร่วมกัน ทำให้เด็กเกิดความเหงา ความเบื่อหน่าย เด็กจึงต้องหากิจกรรมอื่น ทำเพื่อให้ตัวเองสนุก ซึ่งก็หนีไม่พ้นการเล่น เกม พ่อแม่อาจไม่มีเวลาควบคมุเด็ก หรือมองไม่เห็นความ จำเป็นที่จะต้องจำกัดเวลาในการเล่นเกมของเด็กในช่วงแรก พ่อแม่อาจรู้สึกพอใจที่เห็นเด็กเล่นเกม เงียบๆคนเดียวได้โดยไม่มารบกวนตัวเอง ให้ตนมีเวลาส่วนตัว มากขึ้น พูดง่ายๆคือใช้เกมเสมือนเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กแทนตน

-  สังคมที่เปลียนแปลงไป: สังคมยุคไฮเทคที่มีเครื่องมือที่มีพลังในการเร้าความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก อย่างมหาศาล สังคมวัตถุนิยม สังคมที่ขาดแคลนกิจกรรม หรือสถานที่ที่เด็กจะได้ใช้ประโยชน์หรือเรียนรู้ โดยได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปด้วย เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้เด็กหันไปใช้การเล่นเกมเป็น ทางออก

ปัจจัยในตัวเด็กเอง: เด็กบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเกมมากกว่าเด็กทัว่ ไป เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เด็กที่ ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาการเรียน เด็กที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่า (low self-esteem) เป็นต้น





ที่มา: http://www.rimnam.com

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ผลกระทบของเด็กติดเกม

       เกมคอมพิวเตอร์มีทั้งผลดีและผลเสียต่อเด็กขึ้นอยู่กับเกมและเวลาที่ใช้ในการเล่น ผลเสียนั้นจะมีผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ด้านการเรียน เด็กจะไม่ไปโรงเรียนหรือไปโรงเรียนสายเพราะเอาเวลาไปเล่นเกม ซึ่งเป็นผลทำให้มีผลการเรียนตกต่ำ ไม่ยอมทำการบ้าน ไม่อ่านหนังสือ ไม่มีสมาธิในการเรียน สมองเฉื่อย สุดท้ายส่งผลให้เด็กเรียนไม่จบ
ด้านสุขภาพร่างกาย เด็กจะทรุดโทรม ซูบผอม ซึ่งเกิดจากอุปนิสัยการบริโภคอาหารเปลี่ยนไป ชอบอดมื้อกินมื้อ ส่งผลให้เกิดการปวดท้อง ในบางรายจะเกิดโรคอ้วนเพราะไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายหรือออกกำลังกาย การเข้านอนและการตื่นผิดปกติ มักจะปล่อยปละละเลยเรื่องอนามัยและการรักษาความสะอาด นอกจากนั้นอาจจะทำให้เด็กมีปัญหาด้านสายตา ลูกตาก็จะแห้งและล้าเพราะแสงจ้าจากที่ต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์ มีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยข้อมือ การรับรู้สึกที่มือถูกสะเทือน เพราะเส้นประสาทจากข้อมือไปยังมือถูกกดเป็นเวลานานจากการนั่งเล่นเกมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ยังทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยมีผลการศึกษาจากต่างประเทศที่พบว่า การตอบสนองของหัวใจและหลอดเลือดต่อการเล่นเกม สามารถทำนายความดันโลหิตและการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ในร่างกายของเด็กติดเกมจะมีการกระตุ้นของสารโดปามีน ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทอีกต่อหนึ่ง ทำให้เด็กสนุกเกินความพอดี มีแรงมากเหมือนใช้ยาบ้า ทำให้เด็กเกิดอาการโหยหาการเล่นเกมตลอดเวลา
ด้านสุขภาพจิต ทำให้โอกาสที่จะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นน้อยลง กลายเป็นคนแปลกแยก ไม่มีสังคมเพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเล่นเกม ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมกลัวสังคมได้ ซึ่งจะมีอาการปิดตัวไม่สุงสิงกับใครเก็บตัวอยู่ในห้องเพียงลำพัง เล่นเกมทั้งวันไม่หลับไม่นอน ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของเด็ก การที่เด็กเล่นเกมที่รุนแรงมากและใช้เวลาในการเล่นติดต่อกันต่อครั้งนานเกินไปทำให้เกิดผลเสียทางด้านอารมณ์ เด็กจะก้าวร้าวรุนแรง ชอบเอาชนะ โมโหร้าย ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลียนแบบจากเกมโดยเฉพาะพวกเกมการต่อสู้ นอกจากนั้นยังจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน และหดหู่ ซึมเศร้าหากไม่ได้เล่นเกม
ด้านพฤติกรรม เกิดปัญหาเด็กโกหก ลักขโมย ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เกิดปัญหาภายในครอบครัว เพราะเด็กจะติดเกมจนไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง หรือเด็กอาจขโมยหรือหลอกเอาเงินจากผู้ปกครองไปเล่นเกม ทำให้ขาดความสัมพันธ์ในครอบครัว ไม่มีเวลาให้กัน ขาดความเข้าใจ โกรธใส่กัน

เกม คืออะไร

เกมคืออะไร

     

         เกม  คือ  กิจกรรมการเล่นการแข่งขันอย่างมีกฎเกณฑ์ เพื่อให้ผู้ร่วมแข่งขันรู้ข้อเท็จจริง หลักการต่างๆตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การที่ครูผู้สอนคิดเกมมาประกอบการสอน จะมีส่วนทำให้บทเรียนนั้นน่าสนใจ น่าเรียน สนุกสนาน เพลิดเพลิน อีกทั้งยังช่วยให้นักเรียนจดจำบทเรียนได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย
    ประเภทของเกมประกอบการเรียนการสอน
1.เกมเบื้องต้น  (Preliminary game)  เป็นเกมที่ไม่มีระเบียบแบบแผน สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น
2.เกมที่สร้างขึ้น (Structured game) เป็นเกมที่สร้างขึ้นอย่างมีจุดหมายเป็นไปตามแนวคิดรวบยอดให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการ เกมลักษณะนี้ คือเกมที่สร้างให้ผู้เล่นเกิดความเข้าใจตามจุดมุ่งหมายของเกม เมื่อเล่นเกมมากขึ้นก็จะเข้าใจยิ่งขึ้น
3.เกมฝึกหัด (Practice Game)  เป็นเกมที่เน้นความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียนรู้
4.เกมพัฒนาการ (Developmental game)  เป็นเกมที่ส่งเสริมให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
5.เกมยุทธวิธี (Strategy game)  เป็นเกมที่ผู้เล่นคิดหาแนวทางเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์นั้นๆโดยเฉพาะ
6.เกมเสริมแรง  (Reinforcement game)  เป็นเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้พื้นฐานต่างๆและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ



ที่มา: https://sites.google.com/site/kemmhaphaythaleyxnakht/kems